พบนางเงือก 2,000 ปี
เงือกตัวนี้ได้รับความคุ้มครอง และอยู่ในครอบครองของศาสนาโตชิน ถือว่าเป็นศาสนาที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นในสมัยนั้น คือ เมืองฟูจิโนะมิยา ใกล้กับฐานภูเขาไฟฟูจิยามา เงือกตัวนี้มีความแปลกที่ไม่เหมือนเงือกตัวใดที่พบมาก่อนเลย คือ จัดให้มีความยาวถึง 170 เซนติเมตร อายุก็มากที่สุดนับจากค้นพบมา คือ อายุราว 1,400 ปี หากนับถึงวันพบซากเป็นปี ค.ศ. บวกอายุจริงที่ประเมินไว้รวมกันเข้าแล้วก็ปาเข้าไปเกือบ 2,000 ปี เลยทีเดียว ( ถ้าเป็นพ.ศ. บวกเข้า 543 ป๊ ก็มีอายุสองพันกว่าปีแล้ว)
มัมมี่เงือกญี่ปุ่น
เงือกตัวนี้ดังมากในบรรดาเงือกญี่ปุ่นทั้งหมด เหตุที่มีชื่อเสียงดังเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด ใช่เพียงแค่อายุมากเท่านั้น แต่เป็นเพราะขนาดรูปร่างที่ใหญ่โตอาจสูงใหญ่กว่าคนบางคนด้วยซ้ำ อีกทั้งมันไม่ได้ยกกำมือขึ้นแนบแก้ม มีเพียงดวงตาเบิกโพรงแสดงความตกใจ ดังที่เคยได้ยินได้กันเห็นมาแล้ว นางเงือกตัวนี้ยังมีรูปร่างที่ยาวเกินเหตุคล้ายไม่สมส่วนกล่าวคือ ส่วนหางที่เป็นปลามีความยาวเพียง 20 เซนติเมตรเท่านั้น แถมบนศีรษะก็หัวล้านแต่ไม่ถึงกับเลี่ยน พอมีประปราย( อาจข้ามกาลเวลาอยู่มานานผมจึงหลุดร่วงหมด) แล้วที่ดูตลกเห็นจะเป็นเส้นผมกลางหน้าผากห้อยย้อยลงมาที่ปรายจมูก ใช่เพียงแค่นี้ที่ว่าไม่เหมือนเงือกอื่นใดอีกนั้นก็คือ ที่อุ้งมือเธอยังมีพังผืด แบบตีนกบ ตามด้วยเล็บที่ยาวแหลมคม เห็นแล้วให้เสียวลำคอดีแท้..ดูที่ดวงตาเบิกกว้างนั้นก็ยาวเลยปาก ความสงสัย และข้องใจของนางเงือกตนนี้คงเป็นที่สัดส่วน หากนำมาพิจารณามันก็ออกจะแปลกๆสักนิด
เพียงช่วงล่างของหางปลายาว 20 ซม. ที่เหลือ 150 เป็นช่วงคนนั้น ทำให้คิดกันว่าแล้วสรีระภายใน จะเป็นโครงกระดูกแบบมนุษย์หรือเปล่า .... น่าสงสัยที่สุด เพราะความสูงของสตรีประมาณเท่าเงือกนาวนี้เหมือนกัน? เงือกวัย 2,000 ปี ตนนี้ผ่านลมฝนการเดินทางข้ามห้วงมหาสมุทร และการโยกย้ายเพื่อออกแสดงโชว์ไปทั่ว จึงทำให้ร่างกายชำรุดทรุดโทรม ตามผิวหนังด้านนอกก็ผุกร่อน อันเกิดจากการกัดแทะของผีเสื้อราตรีกับแมลงกลางคืน มันคือ มัมมี่เงือกที่มีปริศนาคาใจ และเป็นที่ใคร่รู้จักของชาวโลกมากที่สุด
พุทธศาสนสุภาษิตสำหรับท่องจำ ธรรมศึกษาชั้นตรี (ควรฝึกเขียนให้ถูกต้องด้วย)
-
หมวด ตน
อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ.
ตนแล เป็นที่พึ่งของตน. ที่มาของสุภาษิต ขุทฺทกนิกาย ธรรมบท
อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภิ.
ผู้มีตนฝึกดีแล้ว ย่อมได้ที่พ...
12 ปีที่ผ่านมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
วัณณกสิณ ๔ สีที่เกิดอยู่ที่จริต เกิดเป็นรังษีออร่า